วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

โจนาสกับผู้ให้ ♥

"ย้อนกลับไป กลับไป และกลับไป"





มันก็ซักระยะแล้วนะที่อ่านหนังสือแล้วไม่ค่อยได้รู้สึกแบบนี้ มันเป็นความรู้สึกที่แบบว่ากินเข้าไปในใจ
เป็นอะไรที่อ่านแล้วติดอยู่ในหัว ติดจนเอามาคิดแล้วก็กลายมาเป็นติดปาก อย่างประโยคที่ว่า
ย้อนกลับไป กลับไป และกลับไป

โจนาสกับผู้ให้ หรือ The Giver คงได้ผ่านหูผ่านตาใครมาหลายคน แต่จะมีซักกี่คนที่สนใจจะหยิบยก
มันขึ้นมาอ่าน ยอมรับเลยว่าตอนแรก ที่เห็นหนังสือเล่มนี้วางอยู่บนชั้นหนังสือตามร้านไม่เคยคิดจะสนใจ
หรือแม้แต่ตอนช่วงงานหนังสือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลายคนจะแนะนำ ให้ซื้อเรื่องนี้อ่าน แต่ก็ยังไม่สนใจ
จนกระทั่งได้เจอศิลปินทางฝั่ง อเมริกาทวิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้เอาตัวอย่างหนังเรื่อง “The Giver”
มาแปะไว้ในทวิตของเขา แล้วเราก็ได้มีโอกาสที่จะกดเข้าไปดู


 ความคิดแวบแรกที่เข้ามาในหัวจากการดูตัวอย่างหนังเรื่องนี้ก็คือดิสโทเปียแน่ๆ 
จากนั้นจึงเริ่มหารีวิวอ่าน ซึ่งในตอนนั้นหาอ่านได้แต่รีวิวที่เป็นหนังสือ จนกระทั่งผ่านไปสองอาทิตย์
มีบล็อกเกอร์ทางฝั่งอเมริกาได้อัพเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เอาไว้ แล้วซึ่งมันทำให้เรารู้สึกว่า มันน่าสนใจ
จนท้ายที่สุดเลยต้องซื้อมาอ่านก่อนที่จะไปดูหนัง ฮ่าๆ

ในช่วงแรกๆของหนังสือเรื่องนี้ยอมรับเลยว่า “น่าเบื่อ” มันดูหม่นๆไปหมด จนกระทั่งเข้าประเด็นในตอนที่
โจนาสเข้าสู่อายุสิบสอง มันเริ่มรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าค้นหามากขึ้น ซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับว่า
เด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีพิธีการ แตกต่างกันไป แต่จะสำคัญที่สุดคือช่วงอายุสิบสอง เป็นช่วงที่พวกเขาต้อง
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีการแบ่งงานให้กับคนกลุ่มอายุสิบสองตามความถนัด ซึ่งแต่แล้ว แจ๊กพอทที่สิบๆปี
ไม่เคยมีใครแตก แต่ดันมาแตกที่โจนาส ซึ่งก็คือ “ผู้รับความทรงจำ” ซึ่งโจนาสนั้นต้องรับรู้เรื่องราวทั้งหมดของโลก
ต่อจาก “ผู้ให้” หรือ “The Giver” โดยตัวของโจนาสได้ตกไปเป็น “ผู้รับ

ซึ่งเรื่องดำเนินได้น่าสนใจตรงที่ว่า เขาคล่อยๆคลายปมเรื่องต่างๆออกมา ซึ่งที่เราชอบมากก็คือ
 “ความลับของโลกเสมือน” ซึ่งในตอนแรกเราไม่คิด เลยว่าหนังสือที่ดำเนินมาในช่วงแรกๆนั้นจะเป็น 
สีขาวดำ จนกระทั่ง มาเฉลยตอนที่เดอะกีฟเวอร์บอกกับโจนาสว่า “เธอกำลังเห็นสีแดง
ซึ่งนั่นทำให้เราแบบ ห๊ะอะไรวะ ! เราว่านี่ละคือสิ่งที่ดึงดูดดีๆจากหนังสือเล่มนี้

โจนาสเริ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกว่าแท้จริงแล้วโลกที่เขาอยู่ในทุกวันนี้ มันคือการ “ควบคุม” ให้คน
เป็นเหมือนๆกันหมด แต่โจนาสก็ยังมองเห็น ถึงความดีและแย่ในระบบเช่นกัน อย่างว่าถ้าคนคิดแตกต่างไปจากนี้
ระบบกลุ่มคงจะวุ่นวายน่าดู แต่ถ้าไม่มีคนที่คิดจากต่างไปก็คงก็แย่น่าดูเช่นกัน

จนกระทั่งวันหนึ่งโจนาสได้รับรู้เรื่องราวของ “การปลดปล่อยอย่าแท้จริง วันนี้ทำให้โจนาสรู้สึกเจ็บปวดอย่าง
ที่คนอื่นไม่มีทางได้รู้สึก (การปลดปล่อยคืออะไรแนะนำให้ไปอ่านเอง อิอิ)
และแล้วเขาก็ได้ทำการวางแผนกับเดอะกีฟเวอร์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา...

.
.
.


เล่าไปนี่สปอยเนื้อเรื่องไปเยอะมากนะแก ไปหาอ่านกันซะนะคะ หนังสือเซต The Giver นี้มีทั้งหมด 4 เล่มค่ะ
แนะนำให้ไปหาอ่านกันเนอะ นี่ยังอ่านไม่ครบทุกเล่มหรอกค่ะ อ่านไปแค่เล่มหนึ่งเล่มเดียว
แต่เดี๋ยวงานหนังสือเดือนตุลาฯนี้จะต้องซื้อสามเล่มที่เหลืออีกแน่นอน

โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตีเอาความเป็น ดิสโทเปีย ได้อย่างงดงามนะ คิดว่ามันตีแผ่ออกมา
ได้แยบยลกว่าเรื่องแนวแรงๆอย่างฮังเกอร์เกมส์เสียอีก แม้ระดับความนิยมจะไม่เท่า อาจจะเป็นเพราะ
เหตุมาจากมันเป็นวรรณกรรมสำหรับ เด็กประถมถึงมัธยมต้น เลยเอาความที่มันแยบยลใส่ลงไปเพื่อให้
มันซอฟท์ทางเนื้อหา แต่ถึงอย่างนั้น ในฐานะที่เรียนสังคม (อีกแล้ว55555555555555555555555555)
ก็จะบอกว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่เด็กสังคมอ่านคงจะดีพิลึกอ่ะ มันจะมองเห็นถึง 
การควบคุมคนให้เป็นเหมือนๆกัน’ มันคล้ายๆกับทฤษฎีจิตสำนึกร่วม ของอีมิล เดอร์ไคม์
ทุกคนรู้หมดว่าต้องทำอะไร ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำ หรือแม้แต่ภาษาที่ใช้ยังใช้เหมือนๆกันหมด หากใคร
พูดต่างไปจากนั้น ก็เปรียบคล้ายกับคนประหลาดไปซะอย่างนั้น ในหนังสือเล่มนี้ยังชี้ให้เห็น
ถึงความเป็นปึกแผ่นจากการอยู่ร่วมกันผ่านใต้กฎอีกด้วย หรือจริงๆจะมองผ่านทฤษฎีของกรัมชี่ก็ได้นะฉันว่า
แต่ไม่เอาดีกว่าขี้เกียจอธิบายละ เมื่อยมือ555555555555555555555555555555

เห้ยเด็กเอกพัฒฯจ๋า ลองไปหาอ่านกันนะ ไหมขอแนะนำค่ะ อิอิ

PS -- ประโยคที่ว่า ย้อนกลับไป กลับไป และกลับไป อยากรู้ว่ามีนัยยังไง
ไม่อธิบายหรอก ไปหาอ่านเอง ชีวิตนี้อยากอ่านหนังสือดีๆต้องลงทุนเว้ย!

ขอจบเอ็นทรีนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ละค่ะ
จิราพรถ่ายภาพ และจิราพรรายงาน
บัยยย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น