“Sometimes it is the people who no one imagines
anything of who do the things that no one can
imagine.”
— The Imitation Game
"บางครั้งคนที่เราคาดไม่ถึงก็สามารถทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน"
เพียงเวลาแค่หนึ่งชั่วโมงห้าสิบสี่นาทีกับ
“เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์” ที่ทำให้น้ำตาไหลลงมาได้ถึงห้าครั้ง
ในบทของ
“อลัน ทัวริ่ง” กับการแสดงที่ดีแบบไม่เกินคาด
เพราะสิ่งที่คาดหวังไว้กับตัวของป๋าเบนนั้นมันอยู่
ในระดับของ
“ดี ดีมาก และดีโคตรๆ” อยู่แล้ว!
ซึ่งในตอนแรกนั้น
เคยคิดไว้ว่าภาพยนตร์เชิงชีวประวัติแบบนี้มันคงน่าเบื่อแน่ๆ แต่ถึงตอนนั้นก็คิดว่าคงต้องดู
เพราะป๋าเบนเล่น
แต่หลังจากที่รอบ Sneak Preview ได้เริ่มฉาย
จากการอ่านในแฮชแท็ก #movietwit และ
การอ่านรีวิว/สปอยในพันทิป ทำให้รู้สึกว่า ไม่ใช่แค่ตัวนักแสดงแล้วล่ะที่น่าติดตาม
แต่เนื้อหานั้นก็น่าติดตามเช่นกัน
The
Imitation Game เป็นเรื่องราวของนักคณิตศาสตร์ ที่ชื่อว่า “อลัน ทัวริ่ง” ที่ต้องถอดรหัสจากเครื่องอีนิคม่า
และตัวของอลันนั้นก็ได้สร้างเครื่อง
“Enigma-code-cracking
machine” และเรียกมันว่า “คริสโตเฟอร์”
ในหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่เล่าเรื่องภายในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2
หากคาดหวังว่าหนังเรื่องนี้ต้องถือปีนยิงกันละก็
คิดผิดโดยสิ้นเชิง
เฉกเช่นดังที่ในหนังอลันทัวริ่งได้พูดเอาไว้ว่า
“มนุษย์ชอบความรุนแรง
เพราะความรุนแรงมันทำให้รู้สึกดี
แต่หากตัดความรู้สึกนั้นไป
ก็เหลือเพียงแต่การกระทำอันกลวงๆ”
ไม่ต้องมีฉากรบกันเพื่อความคุกกรุ่นในอารมณ์
หากแต่เป็นเพียงการนำเสนอที่ใช้สมองต่อสู้กับเวลา
ในหนึ่งนาทีของช่วงสงครามใครจะรู้ว่าต้องมีการสูญเสียไปมากเท่าใด
อลันทัวริ่งได้ทำให้เห็นว่า
ความรุนแรงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ยุติสงครามได้ แต่การใช้มันสมองต่างหากที่ทำให้
ความสูญเสียนั้นน้อยลง
ในหนังเรื่องนี้นั้นนอกจากประเด็นในเรื่องของสงคราม
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือประเด็นในเรื่องของ “Sexuality”
เนื่องจากว่าอลันทัวริ่งนั้นเป็น
homosexual
หรือ พวกรักร่วมเพศนั้นเอง แต่ซึ่งในสมัยนั้น เรื่องของรักร่วมเพศ
ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องในทางกฎหมาย
อลันทัวริ่งจึงโดนข้อหาอาชญากรรมหลังจากจบสงครามโลก
แม้ในหนังจะปลุกอารมณ์ในประเด็นนี้ได้ไม่สุดเท่าที่ควร
แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกว่ามันหดหู่มากคงเพราะอลันทัวริ่ง
นั้นได้เลือกรับโทษโดนการฉีดฮอร์โมนเข้าร่างกายตัวเอง(ทำให้ตัวเองเป็นหมัน)
แทนที่จะจำคุกในเวลาสองปี
ด้วยเหตุที่ว่า
ตัวของอลันนั้นรู้สึกโดดเดี่ยวหากต้องใช้เวลาในคุกถึงสองปี
และเกรงกลัวต่อการสูญเสียคริสโตเฟอร์
และ
อลัน ทัวริ่งได้เสียชีวิตโดยการปลิดชีพตัวเอง ในวัย 41 ปีเพียงเท่านั้น
หลังจากดูเรื่องนี้จบ
บอกเลยว่าขอออสก้าให้ป๋าเบนเถอะนะ!
เป็นหนังที่เข้าถึงทุกอารมณ์
มันทั้งดราม่าหนัก คอมมาดี้เล็กๆ ที่ปะปนกันทำให้หนังเรื่องนี้มีเสน่ห์อย่างบอกไม่ถูก
หากถามว่าให้คะแนนในหนังเรื่องนี้เท่าใด
บอกเลยว่า 9.5 / 10 หักจุดห้าไปเนื่องจากซีจีในเรื่องอย่างเดียวเท่านั้น
คาดว่าอาทิตย์หน้า
หากมีเวลาต้องได้ดูเรื่องนี้อีกรอบอย่างแน่นอน ( (ミ´ω`ミ))
PS -- ก่อนเขียนเอ็นทรี่นี้ ได้เข้าไปอ่านบทความ The Imitation Game:inventing a new slander to insult Alan Turing มา
ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบประวัติศาสตร์จริง กับตัวเรื่องในหนัง ซึ่งน่าสนใจมากๆ
ลองคลิกเข้าไปอ่านดูได้!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น